dc.contributor.author | Prompayuk, Supoj | en_US |
dc.contributor.author | สุพจน์ พรหมพยัคฆ์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-09-13T03:39:18Z | |
dc.date.available | 2020-09-13T03:39:18Z | |
dc.date.issued | 2020-09-13 | |
dc.identifier.uri | http://repository.rmutp.ac.th/handle/123456789/3406 | |
dc.description | รายงานวิจัย -- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2557 | en_US |
dc.description.abstract | ในปัจจุบัน พื้นที่หรือชุมชนที่มีความสาคัญและคุณค่าทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ที่
สมควรดารงรักษาคุณค่าไว้อย่างยิ่งนั้นกาลังจะสูญสลาย อันเนื่องมาจากการพัฒนาเมือง ปัญหาด้าน
กรรมสิทธิ์ที่ดิน และการขาดทรัพยากรในการที่จะดารงรักษาสิ่งที่มีคุณค่าในชุมชน รวมถึงโครงสร้าง
ครัวเรือนที่เปลี่ยนแปลงไป หรือในกรณีที่พื้นที่หรือชุมชนมีการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว ทว่าการ
พัฒนาและบริหารจัดการบางอย่างยังขาดซึ่งองค์ความรู้ที่จะทาให้พื้นที่นั้นยังรักษาคุณค่าเอาไว้มิให้ถูก
ทาลายลงจากการพัฒนาแบบผิดๆ ซึ่งในท้ายที่สุดพื้นที่นั้นก็จะหมดคุณค่าและไม่สามารถพัฒนาเป็น
แหล่งท่องเที่ยวได้อีก
ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของงานวิจัยนี้ ซึ่งมุ่งหาคาตอบว่าจะทาการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมทางกายภาพในพื้นที่ดังกล่าวอย่างไร ที่จะรักษาคุณค่าทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม รวมถึงการท่องเที่ยวไว้ โดยมีจุดยืนอยู่บนแนวคิดของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นแนวคิดของการพัฒนาที่เป็นที่ยอมรับในวงกว้าง โดยสมมติฐานของงานวิจัยนี้ได้แก่สภาวะเศรษฐกิจสังคม โครงสร้างครัวเรือน และการรับรู้ถึงคุณค่าต่อสถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อม รวมถึงลักษณะของสภาพทางกายภาพของสถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อมในพื้นที่นั้นๆ น่าจะมีอิทธิพลก่อให้เกิดโอกาสในการพัฒนาเพื่อก่อรายได้จากสถาปัตยกรรม รวมถึงความน่าจะเป็นในการอนุรักษ์
โดยที่ระเบียบวิธีวิจัยจะประกอบด้วย อันดับแรกคือการศึกษาลักษณะเฉพาะของพื้นที่ ซึ่งได้แก่ สภาพทางกายภาพของสถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อม สภาวะเศรษฐกิจสังคมและโครงสร้างครัวเรือน ที่จะส่งผลต่อปัญหาและความน่าจะเป็นในการอนุรักษ์ อันดับต่อมาคือการศึกษาการรับรู้ต่อคุณค่าทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของพื้นที่ดังกล่าว ของผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่และนักท่องเที่ยวรวมถึงสถาปนิกนักออกแบบชุมชนเมืองหรือนักผังเมือง ในประเด็นของเอกลักษณ์ของพื้นที่และศักยภาพในการตอบสนองต่อความต้องการของนักท่องเที่ยว จากนั้นจึงทาการศึกษาหาความเชื่อมโยงระหว่างบริบทต่างๆของพื้นที่ศึกษาข้างต้น กับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการอนุรักษ์และการพัฒนาของพื้นที่ศึกษานั้นๆ และทาการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างพื้นที่หลายพื้นที่ที่มีความแตกต่างกันซึ่งในท้ายที่สุด งานวิจัยนี้คาดว่าจากการศึกษาข้างต้น จะสามารถค้นพบรูปแบบ (Pattern) ของความสัมพันธ์ระหว่างบริบทต่างๆของพื้นที่หรือชุมชนนั้นๆ กับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจาการพัฒนา รวมถึงสาเหตุของรูปแบบดังกล่าว เพื่อในที่สุดจะสามารถนาสิ่งที่ค้นพบจากการวิจัยนี้ มาสรุปและเสนอแนะเป็นแนวทาง (Guideline) ในการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ส่งเสริมเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน รวมถึงเสนอแนะนโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนกิจกรรมของการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน | en_US |
dc.description.sponsorship | Rajamangala University of Technology Phra Nakhon | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.subject | Environment management | en_US |
dc.subject | การบริหารสภาพแวดล้อม | en_US |
dc.subject | physical environment | en_US |
dc.subject | สภาพแวดล้อมทางกายภาพ | en_US |
dc.subject | culture and tourism | en_US |
dc.subject | วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว | en_US |
dc.title | แนวทางการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ของพื้นที่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว: เปรียบเทียบระหว่างกรณีศึกษาของประเทศพัฒนาแล้ว และประเทศกำลังพัฒนา | en_US |
dc.type | Research Report | en_US |
dc.contributor.emailauthor | [email protected] | en_US |
dc.contributor.emailauthor | [email protected] | en_US |